[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
อนุบาลโนนคูณ(โนนค้อวิทยาคาร)
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 8 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


blog สมาชิก
สถิติผู้เขียน blog 10 อันดับ
admin
[ มือใหม่ ]
1
บทความ blog ล่าสุดโดย
แผนการของ NASA ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์admin
ค้นหาจาก google

  

นวัตกรรมทางการศึกษา
    เรื่อง : การปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน ชั้นประถมศึกษาปีที่

เจ้าของผลงาน : นางสาวธัญลักษณ์ สีแสด
พฤหัสบดี ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 501    จำนวนการดาวน์โหลด : 110 ครั้ง
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 6 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมกับการมีทักษะการ เรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสําคัญของการปรับเปลี่ยนของสังคมที่ส่งผลต่อวิถีการดําเนินชีวิต ครูจึงจําเป็นต้องตื่นตัว และเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสําหรับการ นําไปดํารงชีวิตใน ยุคปัจจุบัน คือ ทักษะการเรียนรู้(Learning Skill) ทักษะการคิด (Thinking Skill) แนวคิดและ หลักการของการ จัดการเรียนการสอนที่ท้าทายการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอน ต้องมีคุณสมบัติ มากกว่าทําหน้าที่ในการสอน (Instructor) ครูผู้สอนต้องมีลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการ ชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) ที่สามารถนําผู้เรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้จากการมีส่วน ร่วมและเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Active Learning) (ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560) จาก สถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคมและเทคโนโลยีระบบการศึกษาจึงต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงทั้งครูและผู้เรียนจําต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนเพื่อ มุ่งไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ตามทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และ แสวงหา ความรู้อยู่ตลอดเวลา ครูต้องเปลี่ยนจากการสอนแบบเดิมด้วยการ “พูด บอก เล่า” เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีความหมาย (วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558) ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ให้จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญหรือผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้งโดยคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนและ ประโยชน์สูงสุดที่ ผู้เรียนจะได้รับให้ผู้เรียนมีบทบาทสําคัญในการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว (active participation) ทั้ง 2 ด้านกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ซึ่งจะทําให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงหมายถึงผลการเรียนรู้ทั้ง ด้านความรู้ความ เข้าใจ เจตคติคุณลักษณะ ฯลฯ จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทเด่น ครูมีบทบาทในลักษณะการ ถ่ายทอดน้อยลง แต่ทําหน้าที่ดูแลอํานวยความสะดวก กระตุ้นและให้คําแนะนําชี้แนะ แนวทางต่างๆ ตามความ จําเป็น ครูจําเป็นต้องเตรียมการสอน จัดเตรียมกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ตามจุดประสงค์การปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ผ่านมา ยังไม่สามารถจัดการเรียนรู้ตามที่ หลักสูตรกําหนดได้ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการปฏิรูปด้านหลักสูตรและการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาครูในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดย การให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทํากิจกรรมด้วยตนเองที่เรียกว่า Active learning ซึ่งได้นํามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ที่หลากหลายให้กับผู้เรียนทุกระดับ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีคุณภาพ สามารถนําความรู้ และทักษะต่างๆ มาใช้ในการดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการ ของสังคม วิทยาศาสตร์มี บทบาทสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุก คนทั้งในชีวิตประจําวันและ การงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออํานวยความ สะดวกในชีวิตและการทํางาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับ ความคิดสร้างสรรค์และ ศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิด สร้างสรรค์คิดวิเคราะห์ วิจารณ์มีทักษะสําคัญในการค้นคว้าหาความรู้ใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาหรือ พัฒนางานด้วยกระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้ง สามารถค้นหาข้อมูลหรือ สารสนเทศ ประยุกต์ใช้ทักษะการคิดเชิงคํานวณและความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อดิจิทัล เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ (knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความ เข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนําความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมี คุณธรรม ดังนั้นครูผู้สอนจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์คิด วิเคราะห์วิจารณ์มีทักษะ ที่สําคัญทั้งทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่21 ในการ ค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลาย และประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้(สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , 2560) รายงานผลการประเมิน ตนเอง (Self – Assessment Report : SAR) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ผู้เรียนมีระดับผลการเรียน เฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับ 3 ขึ้นไปร้อยละ 55.75 ซึ่งต่ํากว่า ค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกําหนดไว้คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับ 3 ขึ้นไป และในปีการศึกษา 2565 นั้น โรงเรียนอนุบาลโนนคูณ (โนนค้อวิทยาคาร) ได้กําหนดค่าเป้าหมายความสําเร็จตาม มาตรฐาน การศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน ประเด็นพิจารณาที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการ 3 เรียนตามหลักสูตรของสถานศึกษา นักเรียนร้อยละ 70 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับ 3 ขึ้นไป ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจําป็นต้องมุ่งส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนให้มี ความรู้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทํา เพื่อให้นักเรียน เกิดความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สามารถนําองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันในแต่ละสาระ การเรียนรู้นําไปสู่ การประยุกต์ใช้ได้จริง มีนําสื่อเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียน ให้สูงกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกําหนด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

ดาวน์โหลด  ( Fulltext )

นวัตกรรมทางการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      โปรแกรม ank anti games v.1.0 27/ม.ค./2566
      พัฒนารูปแบบการนำเสนอแบบรายงานผลข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) 14/ก.ย./2565
      พัฒนารูปแบบการนำเสนอแบบรายงานผลข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) 14/ก.ย./2565
      การปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 25/ส.ค./2565
      ชื่อผลงานนวัตกรรม “สะอาดจนตกใจ ห้องคอมครับ ไม่ใช่ห้องใหม่” 11/ส.ค./2565


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ t.khu.khan@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป